:: แนวปฏิบัติ ::

ในการจัดการการเรียนการสอน
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


สรุปแนวปฏิบัติที่ดี ในการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ถอดประสบการณ์การสอนจากบริบท มรรพ.ต่อยอดความรู้เดิม

เติมเต็มประสบการณ์ สู่การสร้างความรู้ใหม่ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


ความเป็นมา คู่มือแนวปฏิบัติ ติดต่อสอบถาม




MODEL 05 PPP+P MODELการสื่อสารสองทาง




"มีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ส่งเสริมด้วยการลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียน"


ขั้นตอน รูปแบบการสอน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ ดังนี้
  • Participation
    การเรียนรู้ร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วม มีกระบวนการคิดภายใต้ระบบ PDCA
  • Policy
    ผู้สอนทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นโยบายระดับมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอนใน มคอ.3
  • Practice
    การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง สถานการณ์จำลองกระบวนการวิจัยหรือกิจกรรมกลุ่ม
  • Presentation
    การนำเสนอผลการเรียนรู้ ผลงาน ชิ้นงาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนองานที่หลากหลาย
  • Two-Way Communication
    เป็นกระบวนการสื่อสารโต้ตอบกันไปมาโดยเป็นการผลัดกันทำหน้าที่ผู้ส่งและผู้รับ ทำให้ทราบผลของการเรียนรู้ว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่

แผนภูมิ แสดงขนาดของผลตามกรอบ : TQF


คู่มือ เอกสารประกอบ
ข้อดี

เป็นรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการทำงานกลุ่ม นำไปสู่การพัฒนาทักษะความร่วมมือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้สอนได้สะท้อนความคิด ความรู้สึกซึ่งกันและกัน

ข้อจำกัด

ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีทักษะพื้นฐานด้านการสื่อสาร เช่น การเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดี ผู้สอนต้องมีทักษะการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และสื่อสารไปสู่ผู้อื่น

MODEL 06 KDA MODEL




"ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาทักษะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติจริง"


ขั้นตอน รูปแบบการสอน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ ดังนี้
  • K: Know
    เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะศึกษาประเด็นเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เรียนอ้างอิงข้อมูลอย่างถูกต้อง สะท้อนความรู้ที่ได้จากการศึกษาคันคว้าถ่ายทอดความรู้ผ่านการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • D: Drills
    ผู้เรียนนำความรู้ จากขั้น K : Knoพ มาแลกเปลี่ยนกับผู้สอนเพื่อออกแบบการฝึกซ้อมทักษะซ้ำๆ (Drills) ทั้งนี้รูปแบบการฝึกทักษะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเนื้อวิชานั้น ๆ
  • A: Action
    ขั้นนี้มีความจำเป็นอย่างมาก ผู้สอนจะต้องคัดเลือกหรือจัดหาพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานจริงให้กับผู้เรียนโดยผู้สอนจะเป็นผู้สังเกตและอาจให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ผู้เรียนเกิดปัญหา


แผนภูมิ แสดงขนาดของผลตามกรอบ : TQF


คู่มือ เอกสารประกอบ
ข้อดี

เป็นรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเข้าใจและตกผลึกความรู้จากสิ่งที่เรียนเป็นความคงทนของความรู้ที่สามารถระลึกถึงได้แม้ว่าจะผ่านการเรียนเรื่องนั้นมาแล้ว

ข้อจำกัด

การออกแบบกิจกรรมหรืองานที่มอบหมายต้องไม่ง่ายหรือยากเกินไปผู้สอนจึงควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การสอนเพียงพอในการออกแบบกิจกรรมดังกล่าว

MODEL 07 PC MODEL




"การโค้ชอย่างต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในทุกขั้นตอนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา"


ขั้นตอน รูปแบบการสอน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ ดังนี้
  • Prepare
    ผู้สอนคันคว้าหาข้อมูลเพื่อเตรียมการสอน เพื่อออกแบบการสอนในแต่ละสัปดาห์
  • Propose
    ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน
  • Plan
    ผู้เรียนวางแผนปฏิบัติงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  • Practice
    ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้โดยผู้สอนจะคอยให้คำแนะนำและติดตามผู้เรียนจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
  • Presentation
    ผู้เรียนนำเสนอผลงานพร้อมกับอภิปรายผลการดำเนินงานกับเพื่อนร่วมห้องและผู้สอน
  • Continuous Coaching Process
    คือ การใช้กระบวนการหนุนนำต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมทั้ง 5 ขั้น ส่วน Cooperation เป็นความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในทุกขั้นตอน

แผนภูมิ แสดงขนาดของผลตามกรอบ : TQF


คู่มือ เอกสารประกอบ
ข้อดี

เป็นรูปแบบการสอนที่บูรณาการเทคโนโลยี โดยผู้เรียนได้วางแผน การปฏิบัติงานและส่งงานเป็นเอกสารและทางเทคโนโลยี ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและร่วมประเมินงานร่วมกัน

ข้อจำกัด

เป็นรูปแบบการสอนที่เหมาะสำหรับรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ PC Model ต้องใช้ระยะเวลามากสำหรับการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

MODEL 08 SHARE IDENTITY MODEL ผู้สอนไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาลความรู้




"เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านแบบจำลองที่ใช้ฐานความคิดทางวิชาการจากทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก"


ขั้นตอน รูปแบบการสอน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ ดังนี้
  • Pre-production
    หมายถึง ผู้สอนเตรียมความพร้อมเนื้อหาที่จะสอนให้กระชับใกล้ตัวผู้เรียนรวมถึงใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงสารได้ง่าย
  • Production
    หมายถึง ผู้สอนและผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาร่วมกันโดยผ่าน การสร้างความประทับใจแรกพบ ชีวอำนาจในการสอน ลีลาการสอนสื่อและกิจกรรมหลากหลาย สอนจากของจริง สื่อออนไลน์สนับสนุนการสอน
  • Post-Production
    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียนซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 5 ประการได้แก่ ศรัทธาในตัวผู้สอนทัศนคติเป็นบวกอบายมุขถูกควบคุมผู้เรียนมีสมาธิตั้งใจที่จะเรียนรู้ในช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจในเนื้อหาที่จัดการเรียนการสอน

แผนภูมิ แสดงขนาดของผลตามกรอบ : TQF


คู่มือ เอกสารประกอบ
ข้อดี

เป็นรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณธรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้สอนได้สะท้อนความคิดความรู้สึกซึ่งกันและกันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้

ข้อจำกัด

ผู้สอนควรเตรียมตัวด้านเนื้อหาและศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนให้เข้าใจก่อนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และควรมีการเสริมพลังซึ่งกันและกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน (Empower) เพื่อให้การเรียนรู้ร่วมกันที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


Effect Size of MODEL

: การสังเคราะห์งานวิจัย รูปแบบการสอนที่เน้นผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ของมหาวิยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี :


** ขนาดของผล (Effect Size) ในการวิเคราะห์เชิงทดลองเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่านวัตกรรมหรือวิธีการสอนที่นำมาแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเรียน หรือกลุ่มที่ใช้กับไม่ใช้นวัตกรรมได้ดีเพียงใด โดยขนาดของผลยิ่งมีค่ามากยิ่งดี แต่ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงถึงนวัตกรรมยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้ **





:: CCTM ::

แนวปฏิบัติในการจัดการการเรียนการสอน
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
- 41 ม.5 ต.ท่าช้าง ถ.รักศักดิ์ชมูล อ.เมื่อง จ.จันทบุรี 22000